How Waste Power Plant Works

โรงไฟฟ้าจากเศษวัสดุเหลือใช้ (Waste to Energy Power Plant ) ทำงานอย่างไร?

ปัจจุบันการผลิตพลังงานไฟฟ้ามีหลากหลายวิธี เช่น การสร้างโรงไฟฟ้าขยะ (Municipal solid waste power plant ) โรงไฟฟ้าพลังงานลม โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น ขึ้นอยู่กับแหล่งทรัพยากรในแต่ละพื้นที่  โรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล เป็นวัตถุดิบ ถูกสร้างขึ้นเพื่อผลิตพลังงานความร้อน ผลิตพลังงานไฟฟ้า และ ผลิตพลังงานร่วม

โรงไฟฟ้าพลังงานจากเศษวัสดุเหลือใช้ (
Waste power plant) อย่างไร

เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ถือเป็นชีวมวลประเภทหนึ่ง สามารถนำไปใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้า ได้หลายวิธี วิธีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดคือการเผาไหม้โดยตรง  โดยชีวมวลจะถูกลำเลียงเข้าไปในเตาเผาไหม้ผ่านทางระบบลำเลียง จากนั้นจึงถูกเผาเพื่อความร้อนแก่น้ำในท่อน้ำ ย่อยๆที่ประกอบกันเป็นหม้อไอน้ำทำให้เกิดไอน้ำแรงดันสูง  การเผาไหม้ปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กลับขึ้นไปในชั้นบรรยากาศ ส่วนเถ้าถ่านที่เหลือก็ถูกนำไปใช้ในการทำปุ๋ยและการก่อสร้างถนน  ไอน้ำทำให้กังหันไอน้ำหมุนไป ขับเคลื่อนให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าผลิตไฟฟ้า

ส่วนวิธีอื่น ๆ ที่ใช้ชีวมวล อาทิ การแปรสภาพให้เป็นแก๊ส กระบวนการไพโรไลซิส และกระบวนการย่อยสลายแบบไร้อากาศ

●     การแปรสภาพให้เป็นแก๊ส (Gasification) สามารถผลิตแก๊สโดยการให้ความร้อนกับชีวมวล  ซึ่งอาศัยออกซิเจนในปริมาณต่ำกว่าการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์

●     กระบวนการไพโรไลซิส (Pyrolysls) สามารถผลิตน้ำมันชีวภาพ (ไบโอ-ออยล์) ได้โดยการสร้างความร้อนให้กับชีวมวลอย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องใช้ออกซิเจน

●     กระบวนการย่อยสลายแบบไร้อากาศ (Anaerobic Digeston) สามารถผลิตก๊าซชีวภาพจากที่จะแบคทีเรียย่อยสลายสารอินทรีย์โดยไม่ต้องใช้ออกซิเจน

ชีวมวล/เศษวัสดุชีวภาพ ที่นิยมใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้า Waste to Energy


ไม้
ชีวมวลที่นิยมใช้มานานและพบมากที่สุดประเภทหนึ่ง เช่น กิ่งไม้ เปลือกไม้ ท่อนไม้แปรรูป และขี้เลื่อย  โดยสามารถนำไปใช้เป็นแหล่งพลังงานชีวมวลที่มีประโยชน์ได้ทั้งหมด

พืชพลังงาน

พืชหลายชนิด เช่น ข้าวโพด อ้อย ถั่วเหลือง และคาโนล่า สามารถนำมาแปรเป็นพลังงานชีวมวลได้ เช่น ข้าวโพดจะนำบางส่วนไปใช้สร้างพลังงาน อาทิ เปลือก ลำต้น ใบ ส่วนที่เหลือใช้สำหรับการบริโภคเป็นอาหาร

สาหร่ายทะเล
สาหร่ายทะเลเป็นพืชที่สามารถสังเคราะห์แสงและมีอัตราการเติบโตได้อย่างเหลือเชื่อ เมื่อเทียบกับพืชพันธุ์บนบก  แต่การใช้สาหร่ายทะเลก็มีปัจจัยท้าทายหลายประการ เช่น การเก็บเกี่ยว การปลูก การรีดน้ำและการตากแห้ง การสกัดน้ำมัน หรือคาร์โบไฮเดรตในวัตถุดิบตั้งต้นจากแหล่งทะเลต่าง ๆ

วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
หลังจากการเก็บเกี่ยวพืชผลแล้ว วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรทั้งหลาย เช่น ก้าน เปลือก ฟาง กิ่งก้านที่ได้รับการตัดแต่ง และซังข้าวโพด สิ่งเหล่านี้สามารถเก็บรวมรวม นำมาตากแห้ง และเผาเพื่อผลิตเป็นพลังงานได้

ขยะจากมนุษย์และสัตว์  

ปุ๋ยคอกเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลประเภทหนึ่งที่นิยมใช้กันในสังคมชนบท  ปุ๋ยคอกที่นำมาตากจากก้อนเป็นแห้งสามารถนำไปวางซ้อนกัน โดยสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยน เพื่อนำมาใช้ในการผลิตพลังงานความร้อนและหุงต้มอาหาร

ขยะมูลฝอยชุมชน (MSW)

ขยะที่ทิ้งโดยประชาชนและอุตสาหกรรมทั้งหลาย เช่น ไม้ ผลิตภัณฑ์กระดาษ ขยะจากอาหาร และขยะจากสนามหญ้าและสวน สามารถนำไปใช้เป็นแหล่งเชื้อเพลิงได้เช่นกัน  เชื้อเพลิงประเภทนี้พบได้บ่อยตามโรงไฟฟ้า waste to energy power plant และ msw power plant

ชีวมวลมีพลังงานมากเท่าไหร่
กองหญ้าที่ตัดแล้ว 1 กิโลกรัมมีพลังงานประมาณ 4 ล้านจูล หรือที่เรียกกันว่า เมกะจูล (MJ)  ปริมาณดังกล่าวสูงกว่าไฟฟ้าหนึ่งกิโลวัตต์ชั่วโมงเล็กน้อย  ชีวมวลที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดคือ ไม้ที่ตากแห้งด้วยอากาศ ซึ่งมีพลังงานประมาณ 15 MJ/กก. ในขณะที่ไม้ที่ตากแห้งด้วยเตาอบมีพลังงานประมาณ 18 MJ/กก2

สารชีวมวลและสิ่งแวดล้อม
ชีวมวลเป็นส่วนสำคัญภายในวัฏจักรคาร์บอนของโลก ซึ่งอยู่ระหว่างทุกชั้นผิวของโลก ไม่ว่าจะเป็นชั้นบรรยากาศ ดิน น้ำ สิ่งมีชีวิต และในอากาศ  เพื่อรักษาให้โลกสามารถดำเนินวัฏจักรคาร์บอนต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรามีการเพราะปลูกชีวภาพต่าง ๆ อย่างพืชพันธุ์และป่าไม้อย่างยั่งยืน เพราะชีวมวลทั้งหลายล้วนมาจากสิ่งมีชีวิต

ที่มา
https://pngbiomass.com/how-a-biomass-power-plant-works/
https://www.wbdg.org/resources/biomass-electricity-generation
https://www.ovoenergy.com/guides/energy-sources/bio-fuels.html
https://www.nationalgeographic.org/encyclopedia/biomass-energy/
https://www.uwsp.edu/cnr-ap/KEEP/Documents/Activities/Energy%20Fact%20Sheets/FactsAboutBiomass.pdf

บทความน่าสนใจ

บริษัท ศแบง คอร์ปอเรชั่น จำกัด

เลขที่ 159 ซอย พระรามเก้า 57/1 (วิเศษสุข 2) แขวงพัฒนาการ เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250

Copyright @2021 SBANG CORPORATION CO.,LTD.​​

DESIGN by

More Information