ประโยชน์ของการมีโรงไฟฟ้าชีวมวลในชุมชน

ประโยชน์ของการมีโรงไฟฟ้าชีวมวลในชุมชน

ประเทศไทย เป็นประเทศแห่งอุตสาหกรรมการเกษตรและการเพาะปลูก ที่เรารู้กันดีในนาม “ครัวโลก” ในแต่ละปี หลังจากช่วงฤดูเก็บเกี่ยวผ่านพ้นไป เรามักพบเห็นว่ามีเศษวัสดุเหลือทิ้งมากมาย

จากเดิมเกษตรกรมักจัดการกับเศษวัสดุทางการเกษตรเหล่านี้ ด้วยการฝังกลบหรือเผาทำลาย เพื่อเตรียมดิน สำหรับการเพาะปลูกรอบต่อไป โดยส่วนใหญ่มักเลือกวิธีการเผาเพื่อทำลาย เนื่องจาก มีต้นทุนต่ำ ใช้แรงงานน้อยและใช้เวลาน้อย เมื่อเทียบกับการทำลายด้วยวิธีอื่น แต่วิธีการเผา จะก่อให้เกิดผลเสียตามมาในหลายๆ ด้านด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาฝุ่นควันและมลพิษทางอากาศ ปัญหาแร่ธาตุในดินมีปริมาณที่น้อยลง ส่งผลให้ผลผลิตในครั้งต่อ ๆ ไปไม่ดีเท่าที่ควร เมื่อเกษตรกรสามารถขายเศษวัสดุทางการเกษตรให้กับโรงไฟฟ้าได้ ก็จะเป็นส่วนช่วยให้มลพิษจากกาารเผาทำลายน้อยลงและสภาพอากาศในพื้นที่ชุมชนและบริเวณโดยรอบดีขึ้น อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนได้อีกทางหนึ่ง

ดังนั้นแล้ว การมีโรงไฟฟ้าในชุมชน จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะเกษตรกรสามารถนำ เศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมาส่งให้กับโรงไฟฟ้า เพื่อแปลงเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลต่อได้

พืชพลังงานเพื่อผลิตชีวมวล ที่เกษตรกรสามารนำมาส่งให้กับโรงไฟฟ้าชีวมวล ถูกแบ่งตามแหล่งที่มา ดังนี้

1. เศษวัสดุเหลือทิ้งการเกษตร (Agricultural Residues) เช่น แกลบ ฟางข้าว เศษใบไม้และลำต้น ข้าวโพดซัง ข้าวโพด เหง้ามันสำปะหลัง

2. ไม้และเศษไม้ (Wood and Wood Residues) เช่น ไม้โตเร็ว ยูคาลิปตัส กระถินณรงค์ เศษไม้จากโรงงานผลิตเครื่องเรือน และโรงงานผลิตเยื่อกระดาษ

3. ของเหลือจากอุตสาหกรรมและชุมชน (Waste Streams) เช่น กากน้ำตาล และชาน อ้อยจากโรงงานน้ำตาล ขี้เลื่อย เส้นใยปาล์ม และกะลาปาล์ม นอกจากประโยชน์ของการมีโรงไฟฟ้าชุมชนที่ชุมชนจะได้รับอย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว  สำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวลภายใต้การดูแลของ SBANG ชุมชนยังได้รับประโยชน์ในแง่มุมต่าง ๆ ดังนี้

นอกจากประโยชน์ของการมีโรงไฟฟ้าชุมชนที่ชุมชนจะได้รับอย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว  สำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวลภายใต้การดูแลของ SBANG ชุมชนยังได้รับประโยชน์ในแง่มุมต่าง ๆ ดังนี้  

1. ด้านสิ่งแวดล้อม
     
- ช่วยลดการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในที่เปิดโล่ง ซึ่งสร้างฝุ่นควัน และปัญหาคุณภาพอากาศ  

2. เกษตรกรและชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น      
- จากการนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาขายให้โรงไฟฟ้า อาทิ ฟางข้าว ต้นและใบข้าวโพด เศษไม้ไผ่จากอุตสาหกรรมครัวเรือน เศษไม้และขี้เลื่อยจากอุตสาหกรรมแปรรูปไม้เฟอร์นิเจอร์ในครัวเรือน  

3. การจ้างงาน/ พนักงาน ในพื้นที่      
- ตั้งแต่ช่วงของการก่อสร้างโครงการ ทั้งการจ้างแรงงาน การจ้างงาน      
- การจ้างพนักงานประจำในโรงไฟฟ้า โดยมีการอบรม สอนงาน และพัฒนาความเชี่ยวชาญไปเป็นลำดับ อาทิ ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ธุรการ เจ้าหน้าที่เดินเครื่อง ไปจนถึงหัวหน้ากะและผู้จัดการโรงไฟฟ้า  

4. ด้านการพัฒนาชุมชน และการสนับสนุนกิจกรรมในชุมชน ผ่านความร่วมมือระหว่าง โรงไฟฟ้า และชุมชน อาทิ    
- การสนับสนุนการใช้เถ้าชีวมวลบำรุงดิน เพื่อเตรียมการเพาะปลูก ช่วยปรับคุณภาพดิน และช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะในแปลงมันสำปะหลัง หรือพืชหัว    
- การพัฒนาชุมชน ผ่านกองทุนพัฒนาชุมชนรอบโรงไฟฟ้า อาทิ โครงการติดตั้งระบบประปาหมู่บ้านด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ การสร้างกำแพง และบูรณะวัด กิจกรรมส่งเสริมอาชีพให้กลุ่มแม่บ้าน  

อีกทั้ง SBANG มีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยกับชุมชน อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างโรงไฟฟ้าและชุมชนให้อยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน โดยมีการจัดการด้านความปลอดภัย 5 ด้าน ดังนี้  

1. การจัดการด้านฝุ่นละออง
มีการจัดการฝุ่นที่เกิดจากกระบวนการ ขนส่งวัตถุดิบหรือชีวมวล, การกองวัตุดิบก่อนเข้าจัดเก็บและการจัดการขั้นตอนการเผาไหม้เชื้อเพลิงให้มีเครื่องดักจับฝุ่น โดยมีเครื่องดักจับฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิต (ESP : Electrostatic Precipitator) ก่อนปล่อยออกสู่อากาศ เพื่อเป็นการรักษาคุณภาพอากาศให้กับชุมชน และยังคงสร้างผลประโยชน์สูงสุดในการผลิตพลังงานสู่ชุมชนได้  

2. การจัดการด้านเสียง ในขั้นตอนการผลิตของโรงไฟฟ้าชีวมวล มีการใช้เครื่องจักรในกระบวนการผลิตอยู่หลายชนิด ซึ่งอาจก่อให้เกิดเสียงดังได้ การออกแบบของโรงไฟฟ้าของ SBANG จึงเน้นย้ำในเรื่องของการออกแบบเครื่องจักร ให้อยู่ในอาคารปิด และเป็นพื้นที่ควบคุม แยกส่วนจาก พื้นที่ทำงานของพนักงานประจำโรงไฟฟ้า และมีแผนในการซ่อมบำรุงอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้มีความดังเกิน 85-90 เดซิเบล  

3. การจัดการด้านขยะ การออกแบบโรงไฟฟ้าของ SBANG มีการจัดการเรื่องของขยะและของเสียอย่างเป็นระบบ มีการจัดการรวบรวมขยะมูลฝอยและคัดแยกขยะให้เป็นไปย่างมีประสิทธิภาพและลดการปนเปื้อน เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม  

4. การจัดการด้านน้ำ SBANG มีการออกแบบระบบบน้ำให้มีการใช้น้ำแบบหมุนเวียนภายในโครงการ และไม่มีการระบายน้ำทิ้งออกสู่ชุมชนภายนอก (Zero Discharge) และมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำอยู่เสมอ  

5. การจัดการด้านความปลอดภัย จัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานประจำโรงไฟฟ้า โดยจัดให้มีหัวหน้ากะประจำ ซึ่งเป็นผู้ที่ผ่านการอบรมและได้รับการรับรองเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับหัวหน้างาน อีกทั้งมีการจัดอบรมการซ้อมหนีไฟ อบรมการดับเพลิงเบื้องต้น และซ้อมฉุกเฉินอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นเป็นเตรียมพร้อมรับมือหากมีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้น

SBANG ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างโรงไฟฟ้าและชุมชน ให้ทุกคน ทุกภาคส่วน อยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืนและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เพื่อสร้างสังคมที่น่าอยู่ สิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์ พลังงานสะอาดเพื่อส่งต่อให้รุ่นต่อไป

บทความน่าสนใจ

บริษัท ศแบง คอร์ปอเรชั่น จำกัด

เลขที่ 159 ซอย พระรามเก้า 57/1 (วิเศษสุข 2) แขวงพัฒนาการ เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250

Copyright @2021 SBANG CORPORATION CO.,LTD.​​

DESIGN by

More Information